การนำ 5G มาทำงานกับ Internet of Things

การนำ 5G มาทำงานกับ Internet of Things

การนำเทคโนโลยีระบบ 5G มาให้บริการ Mobile Broadband ทำให้การใช้งานอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งหรือ Internet of Things ที่มีการใช้งานสูงจะยิ่งมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งหรือ Internet of Things สามารถคาดหวังการสนับสนุนอย่างมากจากเทคโนโลยีเซลลูลาร์ 5G และทำให้มีการใช้งานในบริการเชิงพาณิชย์ที่ใช้มาตรฐานขั้นสูงที่มีอยู่แล้ว

คลื่นความถี่ 5G จะช่วยเพิ่ม Bandwidth โดยรวมและช่วยให้อุปกรณ์ Internet of Things จำนวนมากสามารถเชื่อมต่อกันได้โดยใช้ระบบเสาอากาศแบบกระจาย ด้วยศักยภาพในการเข้าถึงความเร็วระดับ 10 Gbps

เทคโนโลยี 5G สามารถรองรับอุปกรณ์ Internet of Things ได้หลายล้านตัว

การใช้เทคโนโลยี 5G มาทำงานร่วมกับเซ็นเซอร์ Internet of Things ได้หลายล้านตัวสำหรับงานการติดตามและการแจ้งเตือน

ในทางเทคนิคระบบ 5G สามารถจัดการอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้ถึงหนึ่งล้านเครื่องต่อตารางกิโลเมตร เทคโนโลยี 5G ยังช่วยให้เกิดความหน่วงต่ำเป็นพิเศษผ่าน Multi-Access Edge Compute (MEC) ซึ่งจะย้ายการประมวลผลปริมาณงานไปที่ Edge ได้

การที่ 5G จะสนับสนุน Internet of Things เพียงใดขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้งานเป็นหลัก เพราะคุณสมบัติหลักของ 5G ได้แก่ การส่งข้อมูลด้วยปริมาณมากและเร็วขึ้นมากเพื่อรองรับการสื่อสารสำหรับอุปกรณ์จำนวนมาก โดยไม่ต้องมีการควบคุมจากมนุษย์ และเป็นการสื่อสารที่มีความน่าเชื่อถือและมี Latency Delay ต่ำ

ความน่าเชื่อถือสูงสุดของเทคโนโลยีมาจากความสามารถในการให้บริการที่มีคุณภาพตามที่ระบุไว้หรือการสื่อสารแบบ Real Time นอกจากนี้ 5G ยังมี Latency Delay ที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับการใช้งาน Wi-Fi รุ่นปัจจุบันทั่วไป คุณสมบัติทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับความต้องการของ Internet of Things 

การนำอุปกรณ์ Internet of Things ปลายทางแบบ Narrowband IoT (NB-IoT) ที่ใช้พลังงานต่ำจำนวนมากมาใช้กับแอปพลิเคชันที่ไม่ต้องการความเร็วข้อมูลสูงหรือเวลาในการตอบสนองน้อยกว่า 10 มิลลิวินาทีเพื่อให้ทำงานได้อย่างถูกต้อง 

โดยในทางทฤษฎี 5G สามารถรองรับความหนาแน่นของอุปกรณ์ Internet of Things ได้ถึงหนึ่งล้านจุดต่อตารางกิโลเมตร ซึ่ง NB-IoT เป็นมาตรฐานเทคโนโลยีเครือข่ายบริเวณกว้างที่ใช้พลังงานต่ำซึ่งรองรับอุปกรณ์และบริการเซลลูลาร์ที่หลากหลายได้

5G ยังสามารถปรับใช้กับอุปกรณ์ Internet of Things ที่ต้องการ Bandwidth สูง เช่นกล้องวิดีโอเฝ้าระวังที่ต้องการรับส่งข้อมูลด้วยฟีดวิดีโอความละเอียดสูงพิเศษ 8K แบบเรียลไทม์ได้

อย่างไรก็ตาม 5G อาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเครือข่าย Internet of Things ทั้งหมด องค์กรต่างๆอาจจะยังคงใช้การเชื่อมต่อที่หลากหลายรวมถึง Wi-Fi, Bluetooth, Zigbee และ 4G NB-IoT 

องค์กรต่างๆ ควรพิจารณาคุณลักษณะเฉพาะด้านประสิทธิภาพการใช้งานในสถานการณ์การปรับใช้เท่าที่มีความจำเป็น

ด้วยเทคโนโลยีไร้สายที่ใหม่กว่าของ 5G จึงเป็นหนึ่งในโซลูชันระบบเครือข่ายที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการทั้งหมดของ Internet of Things โดยสามารถควบคุม Latency Delay ให้ความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยได้ 

นอกจากนี้ Wi-Fi 6 อาจจะมีบทบาทในการใช้งาน Internet of Things ที่หนาแน่นและใช้งานในระยะไม่ไกลแม้ว่าจะมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่า

5G และ Internet of Things เป็นกุญแจสำคัญสำหรับเมืองอัจฉริยะ

 ในอนาคต 5G จะทำให้ Internet of Things เติบโตอย่างรวดเร็วและปูทางไปสู่การใช้งานที่ใหม่กว่าเช่น ความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality) และเปิดโอกาสใหม่ของธุรกิจดิจิตอล เช่น การดูแลสุขภาพ การผลิตที่ชาญฉลาดและการศึกษา และ 5G อาจเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างเมืองอัจฉริยะขึ้นด้วย

การเกิดขึ้นของ 5G จะเร่งกระบวนการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิตอลในอุตสาหกรรมอย่างมาก  Internet of Things ขนาดใหญ่สามารถรองรับความหนาแน่นของเซ็นเซอร์ได้ถึง 12 เท่าและเมื่อเทคโนโลยี NB-IoT พัฒนาขึ้น การรวบรวมข้อมูลจากสิ่งเหล่านี้พร้อมกับคุณสมบัติบน Cloud จะช่วยให้สามารถจำลองการคาดการณ์และการแก้ปัญหาแบบเรียลไทม์ได้อย่างถูกต้องมากขึ้น

#ข่าวเทคโนโลยี #ข่าวเทคโนโลยีทั่วโลก #Internet of Things