YouTube ถูกแฉ ปุ่ม Dislike และ Not Interested ไม่ได้ช่วยคัดกรองเนื้อหาให้ผู้ใช้

YouTube ถูกแฉ ปุ่ม Dislike และ Not Interested ไม่ได้ช่วยคัดกรองเนื้อหาให้ผู้ใช้

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เว็บไซต์คลังวิดีโอออนไลน์ยอดนิยมอันดับ 1 ของโลกอย่าง YouTube มีการใส่ปุ่ม dislike และ not interested เพื่อช่วยผู้ใช้งานสามารถคัดกรองเนื้อหาที่เหมาะสมกับตัวเองได้ ซึ่งในทางทฤษฎีการกด dislike น่าจะทำให้ตัวอัลกอริทึมของระบบไม่แสดงเนื้อหาคอนเทนต์ประเภทเดียวกันให้เราเห็นอีก แต่ผลการวิจัยล่าสุดของบริษัท Mozilla กลับพบว่า การกดปุ่มเหล่านี้แทบไม่มีส่วนช่วยในการคัดกรองเนื้อหาเลย เพราะไม่ว่าจะกด dislike และ not interested กี่ครั้ง มันก็จะขึ้นเนื้อหาเดิมที่คล้ายคลึงกับวิดีโอที่เราพึ่งดูแล้วไม่สนใจเมื่อกี้อยู่ดี (แล้วจะมีเพื่อ!?)

YouTube ถูกแฉ ปุ่ม Dislike สามารถป้องกันการแสดงเนื้อหาได้เพียง 11 – 12% เท่านั้น

ผลการวิจัยของบริษัท Mozilla ระบุว่า การที่ YouTube ใส่ปุ่ม dislike และ not interested เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถกรองเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมกับตัวเองนั้น จริง ๆ แล้วแทบไม่ได้ช่วยกรองเนื้อหาเลย โดย Mozilla ได้ทำการทดสอบและรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 20,000 ราย ซึ่งผลปรากฏว่า ปุ่ม dislike และ not interested จะช่วยลดการแสดงเนื้อหาคอนเทนต์ประเภทเดียวกันได้เพียง 11 – 12% เท่านั้น ส่วนปุ่ม Remove from history จะช่วยลดการแสดงเนื้อหาคอนเทนต์ประเภทเดียวกันได้ 29% ขณะที่ปุ่ม Don’t recommend channel จะช่วยลดการแสดงเนื้อหาคอนเทนต์ประเภทเดียวกันได้ 43% เรียกได้ว่าไม่ถึงครึ่งเลยด้วยซ้ำ

อย่างไรก็ตาม ตัวแทนของ YouTube ออกมาชี้แจงว่า สาเหตุที่ไม่ได้คัดกรองเนื้อหาออกไปทั้งหมด 100% เพราะมันอาจส่งผลเสียต่อผู้ใช้ได้ เช่น ผู้ใช้อาจจะรับชมแต่เนื้อหาคอนเทนต์ประเภทเดียวกันทำให้ได้รับแต่แนวคิดหรือมุมมองเดิม ๆ ขาดความสร้างสรรค์ ซึ่งจะเป็นการปิดกั้นแนวคิดหรือมุมมองใหม่ ๆ ที่อาจมีประโยชน์ต่อตัวผู้ใช้เอง ทางบริษัทจึงต้องการให้ผู้ใช้เห็นคอนเทนต์ประเภทอื่นบ้าง ถึงแม้ว่าจะเป็นคอนเทนต์ที่ผู้ใช้เคยกด dislike และ not interested ก็ตาม

แต่ถึงอย่างนั้นทางบริษัท Mozilla ก็ออกมาแสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า การที่ YouTube ใส่ปุ่มต่าง ๆ มาในหน้าเว็บไซต์เพื่อให้ผู้ใช้งานกดรายงานฟีดแบกกลับไป แต่เมื่อผู้ใช้มีฟีดแบ็กกลับไปแล้ว บริษัทกลับไม่สนใจฟีดแบกดังกล่าว ถือเป็นการไม่เคารพความเห็นและความต้องการของผู้ใช้งานอย่างยิ่ง พูดง่าย ๆ ว่า หากกดแล้วไม่ได้ช่วยคัดกรองเนื้อหาอย่างที่ผู้ใช้ต้องการ แล้วจะใส่ปุ่มต่าง ๆ มาเพื่อ?

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ทาง YouTube ถูกวิจารณ์เรื่องฟังก์ชั่นต่าง ๆ ของระบบที่ไม่ได้ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานอย่างที่ควรจะเป็น เพราะก่อนหน้านี้ฟังก์ชั่น Reels ก็ถูกหาว่าลอก TikTok มาทุ้งดุ้น แต่ทำได้แย่กว่าต้นฉบับเสียอย่างนั้น ข่าวเทคโนโลยี ข่าวเทคโนโลยีทั่วโลก ข่าว IT

(ขอบคุณภาพประกอบจาก pelajarinfo.id และ rainmaker.in.th)