บล็อกเชนโครงสร้างทางไอทีของอินเตอร์เน็ตยุคใหม่

บล็อกเชนโครงสร้างทางไอทีของอินเตอร์เน็ตยุคใหม่

บล็อกเชน (Blockchain) คือเทคโนโลยีทางไอทีใหม่ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อเป็นโครงสร้างใหม่บนระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อใช้ประกอบการทำธุรกรรมสำหรับเงินดิจิตอลหรือ Cryptocurrency ที่ชื่อบิทคอยน์ (Bitcoin) 

การคิดค้นบล็อกเชนสามารถแก้ปัญหาค่าใช้จ่ายที่ซ้ำซ้อนได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีหน่วยงานกลางหรือ Server กลางมาทำการประมวลผล และเนื่องจากบล็อกเชนมีความเป็นสาธารณะจึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายโดยเงินสกุลดิจิตอลจำนวนมาก บล็อกเชนจึงถูกนำมาใช้เป็นเส้นทางการซื้อขายและชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ต

บล็อกเชนเป็นกระบวนการทางไอทีที่ทำงานแบบกระจายการประมวลผล

คำว่าบล็อกเชน (Blockchain) ในความหมายโดยพื้นฐานคือระเบียนการบันทึกธุรกรรมไอทีที่เรียกว่าบล็อกซึ่งเชื่อมโยงกันโดยใช้การเข้ารหัส แต่ละบล็อกมีแฮชการเข้ารหัส (Cryptographic Hash) ของบล็อกก่อนหน้า การประทับเวลา (Timestamp) และข้อมูลธุรกรรม (Transaction Data) บรรจุอยู่

โดยการออกแบบแล้วบล็อคเชนมีการป้องกันการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในตัวเอง เนื่องจากเมื่อบันทึกแล้วข้อมูลในบล็อกใดแล้วจะไม่สามารถทำการแก้ไขได้ เพราะจะต้องแก้ไขบล็อกที่ตามมาทั้งหมด บล็อกเชนจะได้รับการจัดการโดยโครงข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer-to-Peer Network) เนื่องจากบล็อกเชนที่ถูกบันทึกแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ 

บล็อกเชนจึงได้รับการพิจารณาว่ามีความปลอดภัยโดยการออกแบบและเป็นระบบประมวลผลแบบกระจายที่มีความเสถียรต่อความผิดพลาด บล็อกเชนจึงเป็นกระบวนการไอทีทางบัญชีแบบเปิดผ่านอินเตอร์เน็ตที่กระจายหน้าที่ในการบันทึกการทำธุรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมีความถาวรและตรวจสอบได้

ฐานข้อมูลบล็อกเชนได้รับการจัดการโดยอัตโนมัติโดยใช้เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์และ Server จำนวนมากที่บันทึกเวลาแบบกระจาย โดยได้รับการรับรองความถูกต้องจากการทำงานร่วมกันที่มีจุดประสงค์เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมของผู้ใช้งาน

การออกแบบดังกล่าวช่วยให้เกิดขั้นตอนการทำงานทางไอทีที่มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยสูง การใช้บล็อกเชนทำให้ไม่มีลักษณะของการทำงานซ้ำที่ไม่มีที่สิ้นสุดของสินทรัพย์ดิจิตอล เป็นการยืนยันว่าแต่ละหน่วยมีการโอนมูลค่าเพียงครั้งเดียวเพื่อแก้ปัญหาค่าใช้จ่ายที่ซ้ำซ้อน 

ล็อกเชนได้รับการอธิบายว่าเป็นโปรโตคอลสำหรับการแลกเปลี่ยนมูลค่าและสามารถรักษาสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้เมื่อมีการตั้งค่าอย่างถูกต้อง เพื่อให้รายละเอียดข้อตกลงการแลกเปลี่ยนจะถูกบันทึกและให้การยอมรับระหว่างกัน

บล็อกจะเก็บข้อมูลของกลุ่มธุรกรรมที่ถูกต้องซึ่งถูกแฮชและเข้ารหัสเป็นแผนผัง แต่ละบล็อกมีแฮชการเข้ารหัสของบล็อกก่อนหน้าในบล็อกเชนซึ่งเชื่อมโยงทั้งสองบล็อกโดยเชื่อมโยงกันเป็นลูกโซ่ กระบวนการทำซ้ำนี้เป็นการยืนยันความสมบูรณ์ของบล็อกก่อนหน้าตลอดทางกลับไปที่บล็อกเริ่มต้นซึ่งเรียกว่าบล็อกกำเนิด (Genesis Block) 

บล็อกเชนมีการเข้ารหัสทางไอทีเพื่อรักษาความปลอดภัย

ด้วยการจัดเก็บข้อมูลในเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ บล็อกเชนจะช่วยขจัดความเสี่ยงหลายอย่างที่มาพร้อมกับข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้ที่ส่วนกลาง เครือข่ายบล็อกเชนแบบเพียร์ทูเพียร์จะไม่มีช่องโหว่ที่ส่วนกลางที่แฮกเกอร์สามารถใช้ประโยชน์ได้ 

วิธีการรักษาความปลอดภัยทางไอทีของบล็อกเชนใช้การเข้ารหัสคีย์สาธารณะที่อยู่ในบล็อกเชน Token ของสินทรัพย์มูลค่าที่ส่งผ่านเครือข่ายจะถูกบันทึกเป็นของบล็อกนั้น คีย์ส่วนตัวเปรียบเสมือนรหัสผ่านที่ช่วยให้เจ้าของเข้าถึงทรัพย์สินดิจิตอลของตน ข้อมูลที่จัดเก็บในบล็อกเชนไม่สามารถทำให้สูญสลายไปได้

ในการทำงานแบบกระจายการประมวลผลจะมีเครื่องมือการขุด (Mining Node) ทำหน้าที่ตรวจสอบธุรกรรมที่เพิ่มเข้าไปในบล็อกที่พวกเขากำลังสร้าง จากนั้นจึงส่งออกบล็อกที่เสร็จสมบูรณ์ไปยัง Node อื่นๆ ต่อไป 

บล็อกเชนเป็นระบบไอทีที่เป็นสาธารณะและใช้งานกับสินทรัพย์ทางดิจิตอล บล็อกเชนจะอนุญาตให้ทุกคนที่มีสิทธิ์และต้องการเข้าถึงสามารถสังเกตและวิเคราะห์ข้อมูลในบล็อกเชนได้ 

ขอบคุณภาพประกอบจาก DPUX  EU SCIENCE HUB 101 Blockchains

#ข่าวเทคโนโลยี #ข่าวเทคโนโลยีทั่วโลก #บล็อกเชน